เรียกว่าเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนหลากหลายสายตา หลังจาก Vasil Hard Fork ของ Cardano ถูกเลื่อนออกไปหลายครั้งจากที่มีกำหนดการเดิมในวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา บางฝ่ายมองว่า Cardano นั้นมักจะเลื่อนโพรเจกต์อย่างนี้เป็นประจำ ส่งผลให้ความเชื่อถือนั้นลดน้อยลง ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนก็มองว่าการค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาก่อนจะเปิดตัวโพรเจกต์สิ่งนี้คือจุดแข็งของ Cardano มาตลอด วันนี้แอดมินพามาดูกันว่า Vasil Hard Fork คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับ Cardano?
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า Hard Fork คืออะไร?
ในเทคโนโลยีบล็อกเชน Hard Fork หมายถึงการอัปเกรดครั้งใหญ่ในโปรโตคอลของเครือข่ายบล็อกเชน อาจจะด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หรือยกระดับประสิทธิภาพ โดยจะแบ่งเชนออกเป็น 2 ส่วน หรือมากกว่านั้น ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบบล็อกและธุรกรรมซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ไม่ได้ผล
บ่อยครั้งที่ Hard Fork นำไปสู่การแยกเชนอย่างถาวร เนื่องจากเวอร์ชันไม่เข้ากับกับเวอร์ชันใหม่อีกต่อไป ซึ่งผู้ที่ถือโทเคนบนเชนเก่าจะได้รับโทเคนในเชนใหม่เนื่องจากมีประวัติเดียวกัน
Hard Fork เป็นการอัปเกรดที่จำเป็นต่อการปรับปรุงเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มฟังก์ชัน การเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่าย การแก้ไขข้อขัดแย้งภายในชุมชน หรือการย้อนกลับการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน
Vasil Hard Fork คืออะไร?
Vasil เป็นการอัปเกรดครั้งใหญ่ที่สุดของ Cardano นับตั้งแต่ Alonzo Hard Fork ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน ปี 2021 โดยการอัปเกรดครั้งนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนา Cardano และคาดว่าการอัปเกรดนี้ จะปรับปรุงเครือข่ายในแง่ของความเร็ว และความสามารถในการปรับขนาด (Scaling) ให้เหมาะสมกับ Smart Contract และ DApps
Vasil Hard Fork สำคัญอย่างไร?
การอัปเกรดดังกล่าว มุ่งเป้าไปที่กลไกสำคัญ 5 ประการ ซึ่งถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเชน Cardano กลไกดังกล่าวประกอบไปด้วย
1. CIP-31 (Reference Inputs)
Cardano ตั้งเป้าที่จะนำเสนอ Input ประเภทใหม่ที่เรียกว่า Reference Input ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถมองดู Output ได้โดยไม่ต้องดำเนินธุรกรรม เป้าหมายของ CIP-31 คือการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในเครือข่าย โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียธุรกรรม หรือการสร้างธุรกรรมที่ไม่ได้ใช้ (UTXO) ใหม่ และยังช่วยให้ DApps หลายตัวสามารถอ่านข้อมูลจาก Datum เดียวกัน ได้ในเวลาเดียวกัน
2. CIP-32 (Inline Datums)
Proposal นี้มุ่งเป้าไปที่การอนุญาตให้สามารถแนบ Datum (ข้อมูลสถิติ, ตัวเลข) ไปกับ Output แทนที่จะแนบไปกับ Hash (กลไกในการแปลงข้อมูล) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับสคริปต์ได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องรวมข้อมูล
3. CIP-33 (Reference Scripts)
เป้าหมายของ Reference Scripts คือการลดต้นทุนการทำธุรกรรม โดยการอนุญาตให้ Reference Scripts แนบไปกับ Output ในขณะที่ยังอนุญาตให้ใช้สคริปต์ดังกล่าวได้ตลอดทั้งกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องแทนที่จะร้องขอให้ดำเนินธุรกรรมให้เสร็จสิ้น
4. CIP-40 (Collateral Outputs)
กลไกนี้ประกอบไปด้วย Output ของธุรกรรมประเภทใหม่ที่เรียกว่า Collateral Outputs มีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภาพรวมของการปรับขนาด (Scaling) ของเครือข่าย
5. Diffusion Pipelining
กลไกนี้จะทำให้กระบวนการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกที่สร้างขึ้นใหม่ในหมู่ผู้เข้าร่วมเครือข่ายนั้นคล่องตัว โดยทำให้แน่ใจว่าสามารถเผยแพร่บล็อกในเครือข่ายได้ดีภายใน 5 วินาทีหลังจากการสร้าง อีกทั้งยังมุ่งเป้าไปที่การทำงานข้ามเชนให้เกิดขึ้นได้พร้อมกัน
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Crypto #Blockchain #Cardano #ADA #Vasil #HardFork #คริปโต #บล็อกเชน