‘บล็อกเชน’ แต่ละประเภทใช้ทำอะไร? ต่างกันอย่างไร? 

‘บล็อกเชน’ เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยในยุคนี้ ซึ่งบล็อกเชนนั้นไม่ได้มีเพียงประเภทเดียว เรามาดูความแตกต่างและการใช้งานของแต่ละประเภทกัน !

การแบ่งประเภทของบล็อกพิจารณาจาก ‘ข้อกำหนด’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่าย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. บล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ (Public Blockchain) หรือรู้จักกันในชื่อ Permissionless Blockchain คือบล็อกเชนที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าใช้งานได้ สามารถอ่านหรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ทุกคนในเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลรายการธุรกรรมได้ ซึ่งรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นใหม่จะต้องผ่านกระบวนการทำฉันทามติจากสมาชิกในเครือข่ายเสียก่อน ตัวอย่างของระบบบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ ได้แก่ Bitcoin , Ethereum และ xCHAIN เป็นต้น
  1. บล็อกเชนแบบปิด (Private Blockchain) คือบล็อกเชนรูปแบบปิดที่เข้าใช้งานได้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาต ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานภายในองค์กร ดังนั้นข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะถูกจำกัดอยู่เฉพาะภายในเครือข่ายซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Ripple, Hyperledger
  1. บล็อกเชนแบบเฉพาะกลุ่ม (Consortium Blockchain) คือบล็อกเชนที่เปิดให้ใช้งานได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่าง Public Blockchain และ Private Blockchain เข้าด้วยกัน โดยส่วนมากเป็นการรวมตัวกันขององค์กรที่มีลักษณะธุรกิจคล้ายคลึงกัน และต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ จึงรวมตัวกันสร้างบล็อกเชนขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธุรกรรมและข้อมูลที่จัดเก็บนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลส่วนตัวภายในองค์กร ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดแก่สาธารณชนได้ ดังนั้นผู้เข้าร่วมบล็อกเชนเฉพาะกลุ่ม จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากตัวแทนเสียก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ เช่น เครือข่ายระหว่างธนาคาร ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ภายในกลุ่มของธนาคาร ตัวอย่างได้แก่ Japanese Bank, กลุ่มเครือข่ายธนาคาร

ยกตัวอย่างระบบบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ (Public Blockchain) ในประเทศไทย ได้แก่ xCHAIN ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเป็นบล็อกเชนสาธารณะสำหรับทุกคนและเป็นระบบนิเวศแรก (First Ecosystem) ที่ถูกสร้างขึ้นและนำมาใช้งานจริง เพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีในโลกอนาคต รวมถึงมีอัตราค่าธรรมเนียมที่จับต้องได้ ต่อยอดได้ทั้งในภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ โดยมี Validator Node เป็นองค์กรที่สาธารณชนรู้จักโดยทั่วไป มีความปลอดภัย โปร่งใส น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้

________________________________

ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์

กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻

 FB : https://techtoro.me/web-fb

 LINE@ : https://techtoro.me/web-line

 Youtube : https://techtoro.me/web-yt

 IG : https://techtoro.me/web-Ig

 Twitter : https://techtoro.me/web-tw

 Blockdit : https://techtoro.me/web-bd

 Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok 

Email : [email protected]

#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #คริปโต #บล็อกเชน #Crypto #Blockchain #Cryptocurrency #xChain