ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรม Defi เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล มีแพลตฟอร์ม Defi ใหม่ ๆ ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อข้อมูลและมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์สามารถถูก Tokenised ให้อยู่ในหน่วยของเงินตรา ทำให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอเพื่อรองรับตลาดใหม่ ๆ ในโลกของคริปโต ซึ่งเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ล้วนแตกต่างจากโลกเดิมอย่างสิ้นเชิง
จาก Native Token (ETH) ที่เปรียบได้กับการ Tokenises ค่าน้ำมันเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับ คอมพิวเตอร์ในโลกใหม่
-> สู่ cToken (เช่น Compound) หรือ Interest Bearing Token ซึ่งเป็นการ Tokenise ตลาดเงินกู้
-> ส่งต่อให้ Lp Token ของ Uniswap (Tokenise ตลาดซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้คนทั่วไปสามารถรับผลตอบแทนการลงทุนเป็นค่า Fee ในการ Trade ได้) ส่งผ่านมาสู่ยุค Defi 2.0 (นิยามของ Defi 2.0 https://www.facebook.com/ratixoxo/posts/4236335866472592 ) ซึ่งจะสังเกตได้ว่า Platform Defi เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาจาก Token ในยุค 1.0 โดย Protocol เหล่านี้จะถูก สร้างประกอบต่อกันไปเรื่อย ๆ
อย่างเช่น Abracadabra ที่สร้างขึ้นมาจาก Interest Bearing Token หรือ OHM ที่เขาบอกว่าจะ tokenise Reserve Currency ผ่านการ tokenise Lp token (ผมเคยเขียนเรื่อง OHM ไว้ https://www.facebook.com/ratixoxo/posts/4355149994591178 )
จะสังเกตได้ว่าผลิตภัณฑ์ในโลก Defi จะสร้าง Top up จากของเดิมและมีแนวโน้มที่จะไม่เหมือนกับในโลก Traditional มากขึ้นเรื่อย ๆ ประเด็นที่ผมต้องการจะสื่อคือ ถ้าหากเราไม่เข้าใจพื้นฐานของโลก Defi 1.0 เราจะไม่มีวันเข้าใจ Defi 2.0 ต่อเนื่องไปยัง Defi 3.0 หรือผลิตภัณฑ์ Defi ที่สร้าง on top ต่อไปเรื่อย ๆในอนาคต ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้หมุนเร็วมาก เดือนที่แล้วกับเดือนหน้าแทบจะเป็นคนละโลกกันเลย ซึ่งอัตราเร่งนี้จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
วันนี้ผมเลยอยากมาเล่าถึงตราสารอนุพันธ์ Defi อันหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เรายังสามารถตามอุตสาหกรรมที่หมุนไวอย่าง Defi ได้ทันครับ
SQEETH คือ ตราสารอนุพันธ์ที่ออกโดย OPYN ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในโลก Traditional
ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivatives มีนิยามคือเป็นเครื่องมือหรือ Product ทางการเงิน ซึ่ง “มูลค่า” ของตราสารอนุพันธ์ จะถูกคำนวณมาจาก “มูลค่า” ของสินทรัพย์หนึ่ง (เช่น หุ้น, bond, หรือ token) หรือ “มูลค่า” ทางเศรษฐศาสตร์ (เช่นดอกเบี้ย หรือ อัตราแลกเปลี่ยน)
แล้วตราสารอนุพันธ์มีเอาไว้ทำอะไร? use case หลัก ๆ คือ เอาไว้บริหารความเสี่ยง จากราคาสินทรัพย์ที่ผันผวน (Market risk) ยกตัวอย่างง่าย ๆ
อย่างตลาด Futures ในโลก Traditional สมมติว่าเราเลือก Long x10 หมายความว่าหากราคาขึ้น 1% ผลตอบแทนจะเพิ่มเป็น 10% หรือเราจะใช้ต้นทุนน้อยลง 10 เท่าเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเท่าเดิม แต่หากราคาตกเกิน 10% เราจะโดนยึดต้นทุนไป เท่ากับว่า “เราสามารถกำหนดความเสี่ยงและจำกัดความสูญเสียได้ล่วงหน้า”
เช่น หากเรายอมขาดทุนได้ 5% ของ port เราก็วางหลักประกัน 5% ของพอร์ต ซึ่งก็คือ หากราคาสินทรัพย์แกว่งลงเกิน 10% (จาก 10x) เราขาดทุนสูงสุดแค่ 5% ของพอร์ท
ในทางกลับกัน หากราคาสินทรัพย์แกว่งขึ้นเกิน 10% เราจะได้กำไรเท่ากับ 100% ของเงินที่เราวางค้ำไป
หาก ขึ้น 10% ก็กำไร 5% ของพอร์ท
หาก ขึ้น 20% ก็กำไร 10% ของพอร์ท
หาก ขึ้น 30% ก็กำไร 15% ของพอร์ท
เท่ากับเราจำกัดความเสี่ยงแค่ 5% แต่เรากำไรไม่จำกัดนั่นเอง
กลับมาที่โลก Defi เรามีความเสี่ยงตัวใหม่ซึ่งก็คือ Impermanent Loss ซึ่งเป็นการขาดทุนที่ไม่ใช่แบบ linear (การ long หรือการ short เป็น แบบ linear คือ ขาดทุนเป็นจำนวนเท่ากับราคาสินทรัพย์คูณด้วยค่าคงที่)
แต่ Impermanent Loss เป็นการขาดทุนแบบ Quadratic (เป็นจำนวนเท่ากับราคาสินทรัพย์คูณด้วยราคาสินทรัพย์ หรือยกกำลังนั่นเอง)
ทีนี้ SQEETH ก็คือ Derivatives ที่มูลค่าเป็น Quadratic นั่นเอง แล้วเราจะใช้ SQEETH ยังไง? ต้องซื้อเท่าไหร่ถึงจะ Hedge Impermanent loss ได้
ในวงการ Traditional Finance เราจะมีศัพท์ที่เรียกว่า Greeks เป็นค่าทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้ทำ Hedging ได้ ขอยกมา 2 ตัวคือ Delta กับ Gamma ครับ
Delta คืออะไร? ในทางเทคนิคคือ ตัวเลขที่ได้จากการ Differentiate สมการมูลค่าของ Derivatives ด้วยตัวแปรราคาสินทรัพย์ ซึ่งค่าที่ได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ Derivatives หากค่า Delta เท่ากับ 1 หมายความว่า หากราคาสินทรัพย์ขึ้นหรือลงไปเป็นจำนวนเท่ากับ 1$ ราคา Derivatives จะขึ้นหรือลงเท่ากับ 1$ เช่นกัน (เอ๋.. แล้วเราจะลงทุนใน Derivatives ที่มี Delta เท่ากับ 1 ไปทำไม? ในเมื่อ Delta ของ Asset ใด ๆ ก็มีค่าเท่ากับ 1 เหมือนกัน? คำตอบคือ Derivatives จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการซื้อ Asset นั้นครับ) หมายความว่า ณ เวลาใด ๆ หากเราซื้อ Asset และ/หรือ ลงทุน/ฟาร์ม ใน Dserivative ใด ๆ ก็ตาม (เช่น LP Token) แล้วเราสามารถทำให้ผลรวมของ Delta ทั้งหมดใน Portfolio เท่ากับ 0 ได้ (กลยุทธ์ นี้เรียกว่า Delta-neutral Hedging) เราจะมั่นใจได้ว่า Portfolio ของเราจะไม่กระทบจากการผันผวนของ Asset
อย่างไรก็ตาม การทำ Delta-neutral Hedging จะเป็นการ Hedge ความเสี่ยงได้แค่ในช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากค่า Delta จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามราคาของ Asset พอเวลาผ่านไปค่า delta ของ Derivatives อาจจะเปลี่ยนไปด้วยอัตราที่ไม่เท่ากับค่า Delta ของ Asset ที่เราต้องการ Hedge ทำให้ ผลรวมของ Delta ไม่เท่ากับ 0 ส่งผลให้เราต้อง Rebalance Portfolio ใหม่ หรือ ซื้อ/ขาย Asset และ/หรือ Derivatives เพื่อทำให้ Delta รวมกลับเป็น 0 อีกรอบ (หากใครเคยเรียน Traditional Finance มันก็คือการเกิด Deep Out-of-the Money ของราคา Option ทำให้ราคา Option เป็น 0 ส่งผลให้ Delta เป็น 0 ไปด้วยนั่นเอง)
ก็เลยมีอีก Strategy หนึ่งก็คือ Gamma-neutral Hedging ค่า Gamma ในทางเทคนิค คือ ตัวเลขที่ได้จากการ Differentiate ค่า Delta อีกที
ง่าย ๆ ก็คือหากค่า Gamma เท่ากับ 1 หมายความว่า หากราคาสินทรัพย์ ขึ้น หรือ ลง ไปเป็นจำนวนเท่ากับ 1 ค่า Delta ของ Asset จะขึ้นหรือลงเท่ากับ 1 เช่นกัน นั่นหมายความว่า หากเราทำ Delta-neutral กับ Gamma-neutral Hedging พร้อมกัน หรือการทำให้ผลรวมของ Gamma ทั้งหมดใน Portfolio เท่ากับ 0 ได้ จะส่งผลให้ค่าผลรวม Delta ที่เป็น 0 จะเป็น 0 ไปตลอดโดยที่ไม่ต้องกังวลความผันผวนของ ราคา Asset ในเวลาสั้น ๆ อีกต่อไป หรือเราไม่ต้องคอย Rebalance เพื่อทำให้ Delta ของ Portfolio เท่ากับ 0 นั่นเอง
ในโลก Defi หากเราทำ Delta-neutral กับ Gamma-neutra Hedging กับ Derivatives ที่มีความเสี่ยงเรื่อง Impermenent Loss ที่เกิดจากการผันผวนของ ราคา Asset ได้ อย่างเช่น Uniswap Lp หมายความว่า มีผลตอบแทนที่ได้จากการฟาร์ม จะไม่ถูกหักไปกับ Impermanent Loss นั่นเองครับ และเราไม่ต้องคอยปรับ Rebalance ของ Position ของเราบ่อย ๆ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องค่าแก้สไปด้วยในตัวครับ
ซึ่ง SQEETH เป็น Derivatives ที่มีค่า Gamma เป็น บวก เราเลยสามารถ Hedge Impermanent Loss ได้อย่างสมบูรณ์ครับ คือ
สมการราคาของ SQUEETH = ราคาของ Asset กำลังสอง
สมการ Delta ของ SQUEETH = 2 x ราคาของ Asset
สมการ Gamma ของ SQUEETH = 2
หมายความว่า SQUEETH 1 อันจะมีค่า Gamma เท่ากับ 2 หากเราต้องการ Hedge Impermanent Loss ของ Uniswap V3 LP
(ใครสนใจลองไปอ่านเรื่อง Uniswap v3 ได้ครับ https://www.facebook.com/ratixoxo/posts/4071519866287527) เราจะต้อง
1. คำนวณ ค่า Gamma ของ Uniswap V3 LP position ซึ่งจะเป็นค่าลบ
2. ซื้อ SQUEETH เพื่อทำให้ค่าผลรวม Gamma จาก SQUEETH และ Uniswap V3 LP position เป็น 0
อย่างเช่นสมมติ Gamma ของ Uniswap V3 LP ณเวลานั้น ๆ มีค่าเท่ากับ – 0.05 เราก็ต้องซื้อ SQUEETH เป็นจำนวน 0.025 SQUEETH
(เนื่องจาก – 0.05 + 2 x 0.025 = 0)
3. พอ Hedge Gamma จากนั้นเราก็จะมา Hedge Delta ให้เท่ากับ 0 กัน โดยการคำนวณผลรวม Delta ของทั้ง Uniswap V3 LP position และ SQUEETH จากนั้นก็หักล้างด้วยการเปิด position ของ Asset หรือ Deivative ไม่ว่าจะเป็น futures หรืออื่น ๆ เพื่อให้ผลรวม Delta เท่ากับ 0 ครับ (แต่ Asset/Derivative ต้องมี Gamma เท่ากับ 0 นะ เพื่อให้เรายังคง Gamma-neutral Hedging อยู่)
ขอโทษด้วยนะครับ ถ้ายัดเรื่อง Math กับ Finance มามากเกินจนทำให้งงมากขึ้น จริง ๆ ถ้าเป็น user ไม่เข้าใจทั้งหมดไม่เป็นไรนะ เดี๋ยวก็มีคนทำ Tool มาคำนวณ ค่า Greek ให้เราใช้งานได้ง่ายมากขึ้นเองครับ ส่วนตัวผมเห็นว่าเนื่องจากธรรมชาติของ Blockchain คือ Composable และ Permissionless ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมี Product ใหม่ ๆ ที่สร้าง On top จาก Derivatives ขึ้นไปอีก
ลองจินตนาการ หากมีคนเอา SQUEETH ไปสร้าง Protocol ใหม่ ๆ แล้ว Tokenise value ทางเศรษฐศาสตร์ แล้วมีคนนำ token นั้น ไปทำ Protocol ต่ออีกรอบ เกิดเป็นตลาดใหม่ ๆ หรือ ที่เราเรียกว่า web3 นั่นเอง หากเราต้องการที่จะอยู่ในตลาดอย่างยั่งยืน เราควรที่จะคอยอัปเดต Product ใหม่ ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เข้าใจความเสี่ยงพื้นฐานและการบริหารความเสี่ยงในโลก Defi ครับ
PS. DYOR นะ จริง ๆ มีรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนการ Hedge อีกมาก เช่น ค่า Funding SQUEETH หรือ FUTURE แต่ผมไม่ได้ใส่ไปเนื่องจากต้องการเน้นไปที่การ Hedging ก่อนครับ
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://bit.ly/3egddS3
LINE@ : https://bit.ly/3mt3hce
Youtube : https://bit.ly/3qtxclY
IG : https://bit.ly/3FzphcM
Twitter : https://bit.ly/3mumRF8
TikTok : https://bit.ly/3pnzT92
Blockdit : https://bit.ly/3yU36vz
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้