บทเรียนจาก “วิกฤตเงินเฟ้อครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา”  (The Great Inflation 1970s) 

หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่กำลังเผชิญกันทั่วโลกคือ “ภาวะเงินเฟ้อ” ซึ่งประเทศไทยเองก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน เห็นได้ชัดว่าราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในขณะที่เศรษฐกิจก็ยังไม่เติบโตเท่าไรนัก เพราะอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากวิกฤติโรคระบาด 

รู้หรือไม่? ว่าในประวัติศาสตร์มนุษย์ก็เคยเกิดภาวะเงินเฟ้อครั้งใหญ่ขึ้นเช่นกัน โดยเกิดขึ้นกับ “พี่ใหญ่” อย่างสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 1965-1982 แต่ที่เด่น ๆ คือช่วงทศวรรษ 1970 วันนี้แอดมินเอาความรู้ดี ๆ มาฝาก ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!  

ข้อควรรู้ 

– ภาวะเงินเฟ้อฉับพลัน เกิดขึ้นเมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคต่ำ

– The Great Inflation และ Recession ได้ทำลายธุรกิจและกระทบการเงินระดับปัจเจกบุคคลเป็นอย่างมาก เราจึงควรเรียนรู้ไว้

เกิดอะไรขึ้นบ้าง? ในปี 1970

– ตลาดหุ้นย่อยยับ และเสียมูลค่าไปกว่า 50%
– เศรษฐกิจเติบโตช้า ส่งผลให้เกิดการจ้างงานน้อยลง
– รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ทำการอัดฉีดเงิน (Easy Money) เข้าไปในระบบเพื่อหวังให้กระตุ้นอัตราการจ้างงาน แต่นั่นก็ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นกัน 

– อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20%

เพิ่มเติม

– ช่วงปี 1973-1974 เกิด Supply Shock (อุปทานเกิดการเปลี่ยนแปลง)

– ตั้งแต่ปี 1962 ถึงปี 1979 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มจาก 2% ไปที่ 15% นอกจากนี้ยังมีการประท้วงจากราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย! 

– ในช่วงปีทศวรรษ 1970 คือช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูง โดยในปี 1980 นั้นมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 14% 

สาเหตุของ The Great Inflation คืออะไร? 

The Great Inflation ถูกกล่าวว่ามีสาเหตุมาจากราคาน้ำมัน นักเก็งกำไรค่าเงิน นักธุรกิจที่กระหายเม็ดเงิน และความโลภของเหล่าผู้นำ อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินที่สนับสนุนงบประมาณขาดดุล และถูกขับเคลื่อนโดยผู้นำทางการเมืองคือสาเหตุหลักของ The Great Inflation 

นโยบายของ Federal Reserve นั้นก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงินสด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิด The Great Inflation ในครั้งนี้ 

บทเรียนสำคัญ 

เสถียรภาพของราคาคือสิ่งสำคัญ สำหรับเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และกำลังเติบโต The Great Inflation แสดงให้เห็นว่าการเพิกเฉยต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งเชื่อว่าเป็นความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น กลับก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจเสียมากกว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์และสภาวะรอบข้างของช่วงก่อน และระหว่างการเกิด The Great Inflation กับสถาณการณ์ในปัจจุบันแล้ว เรียกได้ว่ามีจุดร่วมอยู่หลายจุด มีอะไรบ้าง ลองมาดูกัน! 

ในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เป็นช่วงหลังสงคราม รัฐมีการใช้จ่ายสูงเพื่อฟื้นฟูประเทศ เช่น โครงการ The Great Society นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์เงินออกมามหาศาล เกิดข้อพิพาทในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางซึ่งทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น 

ปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 8.6% สหรัฐฯ ได้มีการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าไปในระบบ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีให้กับภาวะเงินเฟ้อ ทั้งยังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงซึ่งกระทบกับภาคธุรกิจทั่วโลก เราจะเห็นได้ว่ามีจุดร่วมบางอย่างที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ในอดีตไม่ใช่ตัวชี้วัดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราต่างได้เรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและนั่นทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ มากมาย รวมทั้งโอกาสท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ด้วย

________________________________

ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์

กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻

FB : https://techtoro.me/web-fb

LINE@ : https://techtoro.me/web-line

Youtube : https://techtoro.me/web-yt

IG : https://techtoro.me/web-Ig

Twitter : https://techtoro.me/web-tw

Blockdit : https://techtoro.me/web-bd

Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok 

Email : [email protected]

#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #thegreatinflation #Inflation #เงินเฟ้อ #เศรษฐกิจ #การเงิน