Stagflation คืออะไร? ไทยเสี่ยงแค่ไหน?

Stagflation “ของแพง ค่าแรงถูก” โจทย์ยากท้าทายทั่วโลกเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาสินค้าประเภทพลังงาน เช่น น้ำมัน ก็ทะยานพุ่งสูงขึ้นจนกระทบภาคธุรกิจอย่างรุนแรง ในขณะที่ผู้คนมีกำลังซื้อเท่าเดิม ลดลง หรือไม่มีกำลังซื้อเลย วันนี้แอดมินสรุปมาให้แล้วว่า Stagflation มีความหมายว่าอย่างไร? และไทยเสี่ยงแค่ไหนที่จะเกิดภาวะนี้?

Stagflation คืออะไร?

Stagflation เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำว่า Stagnant (เศรษฐกิจชะงัก) และ Inflation (เงินเฟ้อ) เข้าด้วยกัน = แนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อและการว่างงานเพิ่มขึ้นในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปช้า 

“เศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อพุ่งสูง” 

3 Keys สำคัญในการเกิด “Stagflation”

1.เศรษฐกิจเติบโตช้า
2.อัตราว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
3.ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น

สถานการณ์ทั่วโลก

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ก็ได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบด้วยความหวังที่ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น เหตุนี้เองจึงเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคาสินค้าและบริการก็เพิ่มสูง ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวอยู่นั้นเองก็ได้เกิดตัวแปรใหม่ขึ้นมาคือ “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ส่งผลให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น ด้วยความที่น้ำมันนั้นเป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญของสินค้าและบริการจึงทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น สินค้า/บริการมีราคาแพงมากขึ้น ซึ่งทั่วโลกก็กำลังหาวิธีรับมือกับสถานการณ์นี้อยู่

ระดับราคาสินค้าและบริการยังอยู่ในระดับสูง สวนทางกับทิศทางของเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอย เศรษฐกิจโลกจึงมีแนวโน้มจะเกิดภาวะ Stagflation โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในขณะที่กำลงซื้อลดลง 

รู้หรือไม่?

ความกังวลในการเกิด Stagflation เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจลดลงในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อยังพุ่งสูงในระหว่างช่วงการฟื้นตัวจากวิกฤติโรคระบาด COVID-19 

ไทยเสี่ยงแค่ไหน? 

ด้วยความที่ประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมทั่วโลก เมื่อทั่วโลกกำลังจะประสบภาวะเช่นไร ไทยเองก็เสี่ยงจะเกิดภาวะนั้นเหมือนกัน ราคาพลังงานในไทยเองก็เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กำลังซื้อของผู้คนไม่ได้เพิ่มขึ้น อัตราว่างงานก็ยังสูง และเศรษฐกิจของเรายังไม่ฟื้นตัว (อัตราการขยายตัวของ GDP ยังลดลงติดต่อกันหลายไตรมาสอีกด้วย) ทำให้ไทยเรามีโอกาสเกิด Stagflation ได้ 

วิกฤติที่เราจะเผชิญคือ วิกฤติพลังงาน วิกฤติค่าครองชีพ และวิกฤติค่าเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง สิ่งที่ควรรู้คือ Stagflation อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกภาคส่วน เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นเป็นแบบ “K-Shaped Recovery” (บางส่วนฟื้นตัวเร็วและดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่บางส่วนไม่ฟื้นตัวและยังแย่ลงเรื่อย ๆ อีก)  

การรับมือกับ Stagflation ในระดับบุคคลอาจเป็นการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ เช่น น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์, จัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะทางการเงินของตนเอง, ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย, ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น, หาช่องทางในการเพิ่มรายได้และที่สำคัญคือหาความรู้และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ 

________________________________

ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์

กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻

 FB : https://techtoro.me/web-fb

 LINE@ : https://techtoro.me/web-line

 Youtube : https://techtoro.me/web-yt

 IG : https://techtoro.me/web-Ig

 Twitter : https://techtoro.me/web-tw

 Blockdit : https://techtoro.me/web-bd

 Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok 

Email : [email protected]

#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Stagflation #Inflation #Stagnant  #เงินเฟ้อ