เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาทางกรมสรรพากรได้จัดทำคู่มือภาษีคริปโตฯ และเผยแพร่ออกมาบนโลกออนไลน์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักลงทุนชาวไทยในการจัดการเรื่อง “ภาษีคริปโตฯ” วันนี้เราจะพาไปไขทุกข้อสงสัยกับ Q&A รวมคำถามที่พบบ่อยใน “ภาษีคริปโตฯ” By คู่มือกรรมสรรพากร
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือภาษีคริปโตฯ สำหรับประชาชนทั่วไปได้ที่: https://www.rd.go.th/…/informa…/manual_crypto_310165.pdf
Q1 ภาษีคริปโตเคอร์เรนซีมีที่มาอย่างไรและทําไมกรมสรรพากรต้องเก็บภาษี?
คําตอบ เงินได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว ดังนั้นผู้มีกําไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซีจึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดีประมวลกฎหมายดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปลายปี 2561

Q2 ใครมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซี?
คําตอบ ผู้มีเงินได้จากการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี
1. เงินได้จากการโอนหรือขายคริปโตเคอร์เรนซีเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
2. เงินได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้จากการขุด
3. เงินได้จากผลตอบแทนใด ๆ จากการนําคริปโตเคอร์เรนซีไปหาประโยชน์ เช่น Staking, Farming เป็นต้น

Q3 เงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซี มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
คําตอบ เบื้องต้นมีด้วยกัน 3 ประเภท
– เงินได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้มาจากการขุดคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินได้ดังกล่าวสามารถนําหักค่าใช้จ่ายจริง (ต้นทุนในการขุด) ได้
– กําไรจากการขายหรือการโอนคริปโตเคอร์เรนซี เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนนั้น (ราคาขายหักด้วยต้นทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
– ผลตอบแทนจากการนําคริปโตเคอร์เรนซีไปหาประโยชน์นั้นถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

Q4 การคํานวณต้นทุนของ คริปโตเคอร์เรนซี จะคํานวณอย่างไร?
คําตอบ สามารถคํานวณต้นทุนโดยอาจใช้เป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) หรือวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ หากได้เลือกวิธีใดในการคํานวณต้นทุนแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นในการคํานวณต้นทุนตลอดปีภาษี

Q5 ในกรณีที่มีการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในต่างประเทศจะต้องเสียภาษีอย่างไร?
คําตอบ ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาว่าเป็นแหล่งเงินได้ในหรือนอกประเทศ โดยพิจารณาว่า Wallet ที่ใช้ ในการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลนั้นอยู่ที่ประเทศใด
ขั้นตอนที่ 2 หากเป็นแหล่งเงินได้ในประเทศ ย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย แต่หากเป็นแหล่งเงินได้ต่างประเทศ ผู้มีเงินได้ก็ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีต่อเมื่ออยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 180 วันและได้นํา เงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับที่อยู่ถึง 180 วัน

Q6 หากลงทุน 10,000 บาท และถอนออกในราคา 10,000 บาท ถือว่าไม่มีผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตเคอร์เรนซีหรือไม่?
คําตอบ การพิจารณาจะพิจารณามูลค่าที่โอนขายมิใช่มูลค่าเมื่อถอนเงินออกจากบัญชี หากลงทุนซื้อคริปโตเคอร์เรนซี มูลค่า 10,000 บาท และขายในราคา 10,000 บาท ถือว่าไม่มีผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตเคอร์เรนซี (10,000 บาท (ขาย) – 10,000 บาท (เงินที่ลงทุน) = 0 บาท) เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น เก็บจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตเคอร์เรนซี ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็น เงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

Q7 เมื่อขาดทุนในปีนั้นแล้วทั้งกรณี 40(4) และ 40(8) หากปีต่อมามีกําไร สามารถนําผลขาดทุนปีนี้ ไปใช้ประโยชน์ในปีถัดไปได้หรือไม่?
คําตอบ ไม่สามารถนําผลขาดทุนที่เกิดขึ้นไปหักกลบในปีถัดไปได้

Q8 ผู้มีเงินได้ต้องจัดเตรียมหลักฐานประกอบการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 อย่างไร?
คําตอบ เพื่อประกอบการพิสูจน์กําไรของผู้มีเงินได้และหลักฐานที่ระบุถึงการทําธุรกรรมการซื้อ หรือขาย จึงควรเตรียมข้อมูลดังนี้
- จํานวนที่ซื้อหรือขาย
- มูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ณ วันที่ทําธุรกรรม
- อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง
- รายละเอียดผู้ซื้อหรือผู้ขายสําหรับการซื้อ/ขายคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล (ถ้ามี)
- หลักฐานใบกํากับภาษีหรือใบเสร็จค่าใช้จ่าย
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)

Q9 กรณีที่มีกําไรจากการซื้อขายแต่ไม่ได้ยื่นรายงานหรือไม่ได้ระบุในแบบฟอร์ม จะมีโทษอย่างไร?
คําตอบ – กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกําหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับ ทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
– กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร มีโทษจําคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
– กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจําทั้งปรับ

Q10 กรมสรรพากรมีข้อแนะนํานักลงทุนอย่างไร?
คําตอบ การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีก็คล้ายคลึงกับการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ในปัจจุบันที่ผู้มีเงินได้ต้องนําเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษีมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ดังนั้นผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะมาจากการลงทุน ในรูปแบบใดก็ควรเก็บหลักฐานเอกสารที่จําเป็นในการพิสูจน์เงินได้ของตนเอง เช่น ข้อมูลธุรกรรมการซื้อ การขายคริปโตเคอร์เรนซี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการประเมินเงินได้ตนเองอย่างถูกต้องครบถ้วน

________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Tax #CryptoTax #Crypto #Cryptocurrency #ภาษี #ภาษีคริปโต #สรรพากร