คริปโตเคอร์เรนซี เป็นหนึ่งในการลงทุนยอดนิยมในปัจจุบัน ด้วยความที่เป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงและสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงได้เช่นกัน หรือที่เรียกว่า High Risk, High Return ทำให้คริปโตฯ เป็นการลงทุนที่แพร่หลายในหมู่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
อย่างไรก็ดี ที่ช่วงปีที่ผ่านมา มีข่าวเสีย ๆ หาย ๆ เกี่ยวกับ Exchange หรือกระดานซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย ซึ่งได้กระทำความผิดต่าง ๆ อันเป็นการละเมิดกฎของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ส่งผลกระทบต่อความเชื่อใจใน Exchange ไทยเป็นอย่างมาก วันนี้แอดมินจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “บทลงโทษก.ล.ต. สำหรับ Exchange ที่ไม่ทำตามกฎ” มาฝาก
ตัวอย่างการละเมิดกฎ ก.ล.ต.
- ปัญหาภายในระบบของ Bitkub ที่เกิดขัดข้องอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้มีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก เมื่อช่วง มกราคม 2564 จน ก.ล.ต. ต้องสั่งเร่งแก้ไข และห้ามรับลูกค้าใหม่เพิ่ม
- การสร้างปริมาณเทียมจับคู่ซื้อขายคริปโทฯกันเองภายในศูนย์ซื้อขาย “บิทคับ-สตางค์โปร” ซึ่ง ก.ล.ต.สั่งลงโทษปรับเงินผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง พร้อมห้ามเป็นกรรมการบริหารนาน 12 เดือน
- กรณีบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ระงับการเพิกถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลกระทันหัน เนื่องจากปัญหา ZipUp+ ผลิตภัณฑ์ที่นำสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าราว 2,000 ล้าบบาท ที่ไปลงทุนต่อกับบริษัทปล่อยกู้ในต่างประเทศ ได้รับผลกระทบจากโพรเจกต์ Terra-Luna ที่ล่มสลายไป จึงทำให้บริษัทปล่อยกู้ดังกล่าวขาดสภาพคล่องในที่สุด และทำให้ Zipmex ไม่สามารถเพิกถอนสินทรัพย์ที่ลงทุนไปออกมาได้ ซึ่งต่อมา ก.ล.ต.เริ่มดำเนินการสอบสวนเหตุดังกล่าว และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อเอาผิดกับทาง Zipmex
สำหรับอัตราโทษความผิดของผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัล ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกจิสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่ควบคุมโดย ก.ล.ต. มีทั้งโทษทางอาญา และโทษทางแพ่ง ประกอบด้วย
การไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หลักเกณฑ์ที่กำหนด
- ความบกพร่องของระบบงาน
- การไม่ปฏิบัติตาม Trading rules
- การเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
- การส่งงบล่าช้า
อัตราโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 67
การกระทำอันไม่เป็นธรรม
- บอกกล่าว เผยแพร่หรือให้คำรับรอง ข้อความอันเป็นเท็จ (มาตรา40)
- วิเคราะห์ หรือคาดการณ์ โดยนำข้อมูลที่รู้ว่าเป็นเท็จ หรือไม่ครบถ้วนอันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญ (มาตรา 41)
- ซื้อขายโทเคนดิจิทัล รู้หรือ ครอบครองข้อมูลภายใน (มาตรา42)
- ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตัดหน้า (มาตรา45)
- สร้างราคา หรือปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (มาตรา 46)
ระวางโทษทางอาญา และสามารถนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้ได้
มาตรการลงโทษทางแพ่ง
1. ค่าปรับทางแพ่ง
- กรณีได้ผลประโยชน์ที่ได้รับ หรือพึงได้รับ กำหนดค่าปรับทางแพ่งไม่เกิน 2 เท่าของผลประโยชน์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท
- กรณีไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ได้ กำหนดค่าปรับทางแพ่งตั้งแต่ 500,000 – 2,000,000 บาท
2. ชดใช้เงินเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับ หรือ พึงได้รับจากการกระทำผิด
3. ห้ามเข้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี
4. ห้ามเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารของผู้เสอนขายโทเคนดิจิทัล หรือผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี
5. ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบให้กับ ก.ล.ต.
อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวเริ่มใช้มานาน 2 ปีแล้ว และยังมีการละเมิดกฎอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนจำนวนมาก ทำให้ล่าสุด ก.ล.ต. เตรียมตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแก้ไข พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เพื่อรองรับสถานการณ์เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้กลไกการคุ้มครองผู้ลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับทิศทางการกำกับดูแลในต่างประเทศ
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Crypto #Bitcoin #BTC #Exchange #Bitkub #SatangPro #Zipmex #Exchange #กลต #คริปโต #กระดานเทรด