เทคโนโลยีสุดล้ำ อาหารแห่งอนาคต ทำเนื้อสัตว์จากห้องแล็บ!!

ฟังดูเหมือนเป็นนิยายวิทยาศาตร์ที่กลายเป็นจริง นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยและพัฒนาการสร้าง “เนื้อสัตว์” ที่ไม่ได้มาจาก “การฆ่าสัตว์” แต่ถูกเลี้ยงให้เติบโตในห้องแล็บ หรือว่านี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอาหารของมนุษยชาติกันนะ?! วันนี้แอดมินมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ “Cultured Meat” หรือ “เนื้อสัตว์จากห้องแล็บ” มาฝากกัน

เกร็ดน่ารู้จาก TECHTORO

รู้หรือไม่ว่า… ทุก ๆ 100 กิโลแคลอรี่ของอาหารที่ให้วัว 1 ตัว เราจะได้เนื้อวัวเพียง 2 กิโลแคลอรี่กลับมาเท่านั้น! อีก 98% จะหายไปจากการสร้างเนื้อวัว สำหรับแกะนั้น 96% จะใช้ไปกับการสร้างเนื้อแกะ สำหรับเนื้อหมูจะใช้ 91% และ สำหรับสัตว์ปีกจะใช้ไป 87% เลยทีเดียว


เห็นได้ว่าการกินเนื้อสัตว์น้อยลง = ลดการสูญเสียพลังงาน เราจะสามารถเลี้ยงมนุษย์ได้มากขึ้น, ลดปริมาณที่ดินที่ใช้ไปกับการเลี้ยงสัตว์ และลดการใช้ทรัพยากรได้มหาศาล! 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ “Animal Welfare” หรือ “สวัสดิภาพสัตว์” ที่ทำให้ผู้คนมากมายทั่วโลกลด/งดการบริโภคเนื้อสัตว์อีกด้วย

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มนุษย์จึงได้ทำการค้นหาวิธีการอื่นในการได้มาซึ่งเนื้อสัตว์ ที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า คุ้มค่ากับพลังงานมากกว่าและไม่ริดรอนสวัสดิภาพของสัตว์ หนึ่งในวิธีที่ว่านั้นก็คือ “Cultured Meat” หรือ “เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง” นั่นเอง!


Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) คืออะไร? 

Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) หรือรู้จักกันในหลายชื่อ เช่น Cultivated Meat, Lab-grown Meat, Cell-based Meat หมายถึง เนื้อสัตว์ซึ่งมาจากเซลล์สัตว์ที่ถูกเลี้ยงโดยสารอาหารต่าง ๆ เพื่อให้เซลล์เกิดการแบ่งตัว และเปลี่ยนแปลงจนเป็น “เนื้อสัตว์” ซึ่งเจ้าสิ่งนี้จะมีคุณสมบัติเหมือนเนื้อสัตว์ทุกอย่าง เพียงแต่ว่า “ไม่ต้องฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาบริโภค”

อ้างอิงจากการวิจัยของ Polaris Market คาดการณ์ว่า ตลาดโลกสำหรับ Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) ภายในปี 2030 จะมีค่าสูงแตะ 499.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง)  ดีอย่างไร? 

– มีการปนเปื้อนน้อยกว่า
– มียาปฏิชีวนะ (Antibiotics) น้อยกว่า
– กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า 

– ดีต่อสัตว์มากกว่า

สร้างเนื้ออย่างไร? 

ก่อนอื่นต้องรับสเต็มเซลล์ (Stem Cells) มาจากสัตว์ และเลี้ยงมันในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactors) จากนั้นเลี้ยงเซลล์เหล่านี้ด้วยอาหารที่มีออกซิเจนสูงและมีสารอาหารที่จำเป็น เช่น กรดอะมิโน กลูโคส วิตามิน เกลือแร่และโปรตีน เซลล์จะเกิดการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) เป็นกล้ามเนื้อ ไขมัน และเนื้อเยื่อ และในที่สุดก็เป็น “เนื้อสัตว์”



ตัวอย่างบริษัทที่ทำ Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง)

Mosa Meat‍, Aleph Farms, Shiok Meats และ ‍Biftek

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
1. การออกแบบ Bioprocess
Bioprocess = กระบวนการในการสร้างผลิตภัณฑ์จากเซลล์ที่มีชีวิตและองค์ประกอบต่าง ๆ ของมัน


2.วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue engineering)
วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue engineering) ใช้สำหรับการสร้าง Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) โดยให้มีความเหมือนเนื้อจริงทั้งรสสัมผัสและรสชาติ รวมถึงการสกัดเอาสเต็มเซลล์ (Stem Cells) ออกมาและสร้าง Cell Lines (เซลล์ที่มีความคงตัวในด้านพันธุกรรม และไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยได้)


3. การเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ 3 มิติ (Scaffolding)
การเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ 3 มิติ (Scaffolding) คือการสร้างสภาพแวดล้อมเทียมภายในภาชนะเลี้ยงเซลล์ให้คล้ายกับการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายที่เซลล์เจริญเติบโตแบบสามมิติส่วนใหญ่ Scaffolding จะผลิตจากชีววัสดุจากธรรมชาติ เช่น คอลลาเจน เจลาติน ไหม

________________________________

ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์

กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻

FB : https://techtoro.me/web-fb

LINE@ : https://techtoro.me/web-line

Youtube : https://techtoro.me/web-yt

IG : https://techtoro.me/web-Ig

Twitter : https://techtoro.me/web-tw

Blockdit : https://techtoro.me/web-bd

Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok 

Email : [email protected]

#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #CulturedMeat #LabGrown #CellBased #Food #Technology #เทคโนโลยี