แอดมินเชื่อว่าทุกคนคงพอรู้สึกได้ว่า เศรษฐกิจในช่วงระยะสองปีที่ผ่านมานี้นั้นซบเซามาก ไม่ทันที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากวิกฤติโรคระบาดดี ก็เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นมากมาย เหมือนกำลังจะลุกขึ้นยืนได้แต่ก็ดันมีก้อนหินร่วงมาทับอีกครั้ง มีการคาดการณ์ว่าเรากำลังมุ่งหน้าไปสู่ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” หรือ Recession คำถามคือ “ถ้าเกิดขึ้นจริง คนธรรมดาอย่างเราจะรับมือกับมันอย่างไร?”
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) คืออะไร?
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) คือภาวะเศรษฐกิจเมื่อ GDP ของประเทศติดลบติดต่อกันสองไตรมาสขึ้นไป ถึงแม้ว่าเราจะเห็นสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกถึงแนวโน้มในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) เป็นเดือน ๆ ก่อนที่มันจะเกิด แต่มันก็ยากที่จะรู้ได้แน่ชัดว่ามันคือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จริง ๆ หรือไม่ (ต้องใช้เวลาในการบอก)
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) นั้นกินเวลาสั้น แต่ผลกระทบอยู่นาน
รู้ได้อย่างไรว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ?
1.GDP ต่ำลง
2.รายได้ที่แท้จริงต่ำลง
3.อัตราว่างงานมากขึ้น
4.ภาคการผลิตและการขายซบเซา
5.ผู้บริโภคจับจ่ายน้อยลง
.
ตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)
1. เศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเกินไป (Overheated Economy)
2. ฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ (Asset Bubbles) ปรากฏการณ์ที่ข้อมูลการปรับตัวสูงขึ้นของสินทรัพย์ทำให้นักลงทุนรู้สึกมั่นใจและคิดว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมัน จนเกิดเป็นฟองสบู่นั่นเอง
3. เกิดการ “ช็อก” ในตลาด (Market Shocks) อาการช็อกนี้ อาจเกิดจากข่าวร้าย ข่าวปลอมหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันบางอย่าง
.
ผลกระทบ
1. การจ้างงานต่ำลง เกิดอัตราว่างงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ
2. เกิดความเครียด ความวิตกกังวลจากปัญหาทางด้านการเงินและการงาน นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ได้ เช่น ความสัมพันธ์ ครอบครัว
3. ไลฟสไตล์ที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกำลังทรัพย์ที่มี
4. โอกาสทางธุรกิจที่น้อยลง โดยอาจขาดเงินทุน ขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจและการรับความเสี่ยง
5. เกิดหนี้สินครัวเรือนจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินและการขาดรายได้
รับมืออย่างไรดี?
การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่ดีที่สุดคือการเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนที่มันจะเกิด หนึ่งในสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ
1. “เงินสำรองฉุกเฉิน”
อย่างน้อยต้องมีเงินสดสำรองเอาไว้เพียงพอค่าใช้จ่าย 6 เดือนขึ้นไป
2. ทำงบการเงิน รายรับ-รายจ่าย
การทำงบการเงินเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเงินเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยให้เรารู้ความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้และช่วยให้เรารู้สถานะการเงินของเราอีกด้วย
3. เคลียร์หนี้สิน!
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาค้ำคอใครหลาย ๆ คน ในแต่ละเดือนจะต้องทำการผ่อนชำระหนี้และดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นในระบบหรือนอกระบบ เราต้องจัดการหนี้เสียที่มี เพราะในยามวิกฤติ เช่น เกิดตกงานกระทันหัน เราจะได้ไม่มีภาระผูกพันที่มากเกินไป
4. มีรายได้จากหลายทาง
เป็นวิธีที่ช่วยกระจายความเสี่ยงหากเราเกิดตกงาน เราก็ยังคงมีแหล่งรายได้ซึ่งเปรียบเสมือนสายน้ำอื่น ๆ ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตเราให้พออยู่ต่อไปได้
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Recession #Economy #เศรษฐกิจ #เศรษฐกิจถดถอย