การจ่ายภาษี เป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี (เฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน) มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเกณฑ์ต้องยื่นภาษีจะต้องรวบรวมเอกสารจำเป็นให้ถูกต้องและครบถ้วน และ นำไปยื่นที่กรมสรรพากร หรือ จะใช้ช่องทางออนไลน์โดยการยื่นเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ หรือ ในแอปพลิเคชันก็ได้ แต่หลายคนก็รู้สึกว่าภาษีเป็นเรื่องยุ่งยาก น่าปวดหัว วันนี้แอดมินเลยสรุปข้อมูลมาให้แล้ว “เงินเดือนเท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไร?”
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การสรุปข้อมูลครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า
1. มีรายได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียว โดยคำนวณเฉพาะเงินเดือนเท่านั้น ไม่นับรวมโบนัส หรือเงินพิเศษอื่น ๆ
2. เงินได้สุทธิคำนวณจากเงินได้ที่หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้รวมทั้งปี (ไม่เกิน 100,000 บาท) และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
3. ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติม และ ไม่ได้หักค่าลดหย่อนประกันสังคมที่อาจจะจ่ายไม่เท่ากันในแต่ละปี

ตัวอย่างที่ 1 นาย A เป็นพนักงานบริษัท มีเงินเดือน 20,000 บาท รายได้ทั้งปีรวมกัน 240,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้รวมทั้งปี (ไม่เกิน 100,000 บาท) และ มีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ
สูตรหาเงินได้สุทธิ: เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
สูตรหาภาษีที่ต้องจ่าย: เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
ในกรณีนี้นาย A มีเงินได้สุทธิ คือ (240,000 – 100,000) – 60,000 = 80,000 บาท
เมื่อนำมาคิดกับอัตราภาษีซึ่งอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้น
เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี)
ภาษี = 0
เท่ากับว่านาย A ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ตัวอย่างที่ 2 นาย B เป็นผู้จัดการแผนก มีเงินเดือน 50,000 บาท รายได้ทั้งปีรวมกัน 600,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้รวมทั้งปี (ไม่เกิน 100,000 บาท) และ มีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ
ในกรณีนี้นาย B มีเงินได้สุทธิ คือ (600,000 – 100,000) – 60,000 = 440,000 บาท
เมื่อนำมาคิดกับอัตราภาษีซึ่งอยู่ที่ 10%
เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
ภาษี = [ (440,000 – 300,000) x10% ] + 7,500
= 21,500
เท่ากับว่านาย B ต้องเสียภาษีเงินได้ 21,500 บาท
ตัวอย่างที่ 3 นาย C เป็นผู้บริหารระดับสูง มีเงินเดือน 100,000 บาท รายได้ทั้งปีรวมกัน 1,200,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้รวมทั้งปี (ไม่เกิน 100,000 บาท) และ มีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ
ในกรณีนี้นาย C มีเงินได้สุทธิ คือ (1,200,000 – 100,000) – 60,000 = 1,040,000 บาท
เมื่อนำมาคิดกับอัตราภาษีซึ่งอยู่ที่ 25%
เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)
ภาษี = [ (1,040,000 – 1,000,000) x25% ] + 115,000
= 125,000
เท่ากับว่านาย C ต้องเสียภาษีเงินได้ 125,000 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก Finnomena
บทความโดย คุณานันต์ TECHTORO 💙❤️
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Tax #IncomeTax #Income #Invest #ลงทุน #การลงทุน #ภาษี #ภาษีเงินได้ #ภาษีประจำปี #ภาษี2565 #ลดหย่อนภาษี #กรมสรรพากร #ออมเงิน #เศรษฐกิจ #มนุษย์เงินเดือน