ทำไมธนาคารกลางถึงขึ้นดอกเบี้ย? 📚การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลอย่างไรกับตลาดทุน (💰Equity Market) ตลาดพันธบัตร (💸Bond Market) และตลาด 🥇 Crypto Traditional Finance 🆚 Decentralized Finance
ตามสัญญาครับ ที่เคยบอกว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับ Traditional Finance เห็นว่าช่วงนี้มี Theme ขึ้นดอกเบี้ย เลยเขียนเรื่องนี้มาให้อ่านกัน ^_^
ทำไมธนาคารกลางถึงขึ้นดอกเบี้ย?🤔
1️⃣ Control Inflation (ควบคุมเงินเฟ้อ)
ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะดึงดูด ให้คนมาฝากเงินในธนาคารมากขึ้น และ จะทำให้ อยากกู้เงินน้อยลง ซึ่งหมายถึง การใช้จ่ายภาคครัวเรือน หรือ ผู้บริโภค (Consumer Spending) กับ การใช้จ่ายภาคบริษัท (Consumer Spending) ลดลง ซึ่งนี่จะช่วยลด Demand-pull Inflation (เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์)
2️⃣ Strengthen the domestic currency (ควบคุมการแข็งค่าของสกุลเงิน)
ถ้าดอกเบี้ยในประเทศสูงเมื่อเทียบกับต่างชาติ จะมี Hot Monay ไหล inflow เข้าสู้ประเทศ ซึ่ง Demand นี้จะทำให้สกุลเงินท้องถิ่นแข็งค่าขึ้น
3️⃣ Political Reason (ควบคุมอำนาจทางการเมือง) เช่น
3️⃣ .1️⃣ เพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก
3️⃣ .2️⃣ เสริมความแกร่งทางการเงินของสถาบันทางการเงิน ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนฝากเงินมากขึ้น
3️⃣ .3️⃣ เพิ่มช่องในการลดดอกเบี้ยในอนาคต
4️⃣ Limit Economic Growth (ควบคุม การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไป) ลด Consumer Spending กับ Consumer Spending ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโตน้อยลง
แล้วการขึ้นดอกเบี้ยส่งผลอย่างไรกับตลาดทุน (Equity Market)💰
1️⃣ ผลกระทบจาก เงินเฟ้อ ที่ลดลง
เงินเฟ้อที่ต่ำลง หมายถึง ความแน่นอนของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น (greater certainty about Inflation) ดังนั้น นักลงทุนอาจจะพร้อมและมีช่องในการ ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคงที่มากขึ้น (Fixed-interest assets)
ส่งผลให้มี Demand ที่สูงขึ้น สำหรับ Fixed-interest Bond (และราคาของ Bond ที่สูงขึ้นด้วย) แต่ในทางกลับกัน Demand จะต่ำลงสำหรับ Real Asset อย่างเช่น หุ้น หรือ Equity
หุ้นคือ Real Investment ซึ่งมูลค่าของ Shares “อาจจะ” ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อโดยตรง การที่เงินเฟ้อสูงนั่นหมายถึงอัตราการเติบโตของเงินปันผลอาจจะสูงตามและส่วนลดการลงทุนจะสูงตามไปด้วย หรือ Higher Discount Rate (นักลงทุนตาดหวังผลตอบแทนจาก Cashflow ที่สูงขึ้น) ทำให้ราคาของ Equity อาจจะตกเพื่อทดกับความคาดหวังผลตอบแทนและความเสี่บงที่สูงขึ้น (Present Value ของ Dividend ลดลง)
ซึ่ง Real Interest Rate สำคัญกว่า Inflation Rate คือ ตลาดทุน”อาจจะ”มองบวกก็ได้ ว่า inflation จะไม่สูงจนเกินไปจนเป็นผลดีทำให้ equity market ”อาจจะ” ขึ้นก็ได้
2️⃣ ผลกระทบจาก การแข็งค่า ของ สกุลเงินท้องถิ่น
2️⃣ . 1️⃣ การแข็งค่า ของ สกุลเงินท้องถิ่น ทำให้การ นำเข้า (Import) ถูกลง ซึ่ง ”อาจจะ” ทำให้ ราคา หุ้นเกี่ยวกับ ธุรกิจ การนำเข้า สูงขึ้น
2️⃣ .2️⃣ แต่ การแข็งค่า ของ สกุลเงินท้องถิ่น ทำให้การ ส่งออก (Export) แพงขึ้น ซึ่ง ”อาจจะ” ทำให้ ราคา หุ้นเกี่ยวกับ ธุรกิจ ส่งออก ต่ำลง
2️⃣ .3️⃣ บริษัท ที่มีรายได้จาก บริษัทย่อยในต่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะมีกำไรน้อยลง เนื่องจากบันทึกบัญชีในสกุลท้องถิ่นของบริษัทแม่
2️⃣ .4️⃣ อาจะจะมี Demand มาซื้อ หุ้น จาก นักลงทุนต่างประเทศ เพราะ เขาคาดหวังว่า สกุลเงินเราจะแข็งค่าขึ้น และเขามีสิทธ์ได้กำไรสองต่อจากทั้ง capital gain ของราคาหุ้น และ กำไรจากการแข็งค่าของสกุลเงินท้องถิ่น
3️⃣ ผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น้อยลง
เมื่อ Consumer Spending ลดลง หมายถึง รายได้และกำไรของบริษัทในภาครวมอาจลดลง ซึ่งผลกระทบนี้จะสูงมากสำหรับ ธุรกิจที่มีวัฎจักร (Cyclical companies) เช่นธุรกิจ ฟุ่มเฟือย หรือ ธุรกิจเดินเรือ
💸การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลอย่างไรกับตลาดพันธบัตร (Bond Market)💸
1️⃣ ผลกระทบไปยังตลาดพันธบัตรรัฐบาล ที่ผลตอบแทนคงตัว (Fixed-interest governent Bond Market)
เมื่ออ้างอิงถึง Expectations Theory, Yield Curve ของ พันธบัตรรัฐบาล จะถูกกำหนดด้วยดอกเบี้ยระยะสั้น (Short-term interest rates) ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ผลตอบแทนระยะสั้นของพันธบัตรสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาของ Bond ลดลง
ถ้าหาก Inflation ถูก “คาดหวัง” ว่าจะตก ผลตอบแทนจาก Bond ที่มีระยะเวลามากกว่าอาจจะตก แล้วราคาก็จะขึ้น
2️⃣ ผลกระทบไปยังตลาดพันธบัตรเอกชน (Corporate Bond Market)
จาก economic growth ที่ลดลง อาจจะนำไปสู่ Default (การเบี้ยวชำระหนี้ที่สูงขึ้น) ทำให้ราคาของ Coporate Bond จะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ Governence Bond
การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลอย่างไรกับตลาดคริปโต (Crypto Market)🥇
ถึงแม้ว่าจากสถิติที่ผ่านมา เมื่อดอกเบี้ยขึ้น เงินจะไหลออกจากคริปโตไปยัง Traditional Finance (ไม่ว่าจะเป็น Bond หรือ Equity Market หรืออื่น ๆ โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่มีความแน่นอนสูง) ทำให้ราคาคริปโตมักจะตก ใน Trend ดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งส่วนตัวผมก็เห็นเป็นเช่นนั้น เพราะส่วนใหญ่ยังเป็นตลาดของวาฬ ถ้าราคา Asset บนโลก Traditional Crash ทำไม Whale จะไม่ Cashout เพื่อไปซื้อของถูกในโลกจริง ซึ่งผลกระทบจะแรงมาก เพราะ มูลค่ารวมของตลาดคริปโตยังเล็กมากเมื่อ เทียบกับ Traditional การ flow เข้า/ออก เพียงไม่กี่ % ของ Traditional อาจคิดเป็น หลาย 10% ของ ตลาดคริปโต แต่ผมจะไม่ฟันธง
เนื่องจากตลาดคริปโตยังมี History ที่น้อยมาก BTC แค่ 10 กว่าปี เหรียญอื่น ๆ ยังไม่ถึง 10 ปีด้วยซ้ำ ทำให้มันชี้วัดไม่ได้ว่า History จะ Repeat itself หรือเปล่า?
แต่เช่นเดียวกัน ขอเสริมอีกหน่อย ผมค่อนข้างประหลาดใจ ที่หลายๆคนมองว่า Yield Farming ด้วย Stable Coin ให้ Return ที่ดีกว่า และ ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า traditinal Finance ซึ่งมันไม่จริงนะครับ คือ Stable Coin Yield Farming มันใหม่มาก มี Technical Risk ที่คุณยังมองไม่เห็นอีกมาก “อย่าเอาเงินทั้งหมดไปลง Stable coin เพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะคิดว่ามันไม่มีความเสี่ยง” เวลา มัน Bankrun เงินของคุณคือศูนย์นะครับ
Traditional Finance 🆚 Decentralized Finance
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า DeFi คือนวัตกรรมสุดเจ๋งที่จะมา Disrupt Traditional Finance แต่ในความเป็นจริง เราต้องอย่าลืมว่าทุกวันนี้เราใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง เราหาข้าวกิน ก็อยู่ในโลกแห่งความจริง ถึงแม้เราจะใช้คริปโตบ้าง Crypto Asset เหล่านั้นก็ยังใช้ Data ที่ Based on Traditional Finance อยู่มาก อย่างเช่น Stablecoin ที่ราคายังอิงอยู่กับ Dollar
ประเด็นจริง ๆ ก็คือ ตลาดคริปโตยังใหม่มาก ความฝันที่ว่า Data ทุก ๆ Unit จะสามารถ Tokenize และบริหารโดย DAO ยังห่างไกลยิ่งนัก ยังมีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อีกเยอะ การสร้างโลกใหม่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้แต่ต้องใช้เวลาอีกนาน อาจจะเป็นสิบ ๆ ปี ไม่มีใครตอบได้ แต่สิ่งสำคัญคือ Policy หรือ Mechanism บางอย่าง ในโลก Traditional เราสามารถเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ข้อผิดพลาดในอดีต นำมาทำของใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้ ดังนั้นการทิ้งพื้นฐาน Traditional Finance จึงไม่ใช่ Idea ที่ดีนัก มันอาจจะทำให้เราพลาดประเด็นบางจุดในโลก DeFi ไปก็ได้
_____________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #คริปโต #การลงทุน #อัตราดอกเบี้ย #ธนาคารกลาง #Interestrate #FED #Crypto #DeFi