“ภาษีคริปโตฯ” เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างมากในช่วงนี้ หลังจากที่กรมสรรพากรได้แถลงถึงนโยบายและแนวทางการเสีย “ภาษีคริปโตฯ” โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องดังกล่าวกันเพื่อให้ความชัดเจนกับนักลงทุนทุกคน
ทางกรมสรรพากรได้พูดคุยกับตัวแทนหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีนโยบายที่จะดำเนินการในเรื่องภาษีคริปโตฯ อยู่ 3 เรื่องด้วยกัน มีดังนี้
1.ทำให้ชัด
ทางกรมสรรพากรได้จัดทำคู่มือร่วมกับสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคู่มือนี้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 31 มกราคม 2565 โดยพูดถึงแนวทางการเสียภาษีว่าเงินได้แต่ละประเภท เสียภาษีอย่างไร คำนวณต้นทุนอย่างไร และคำนวณมูลค่าอย่างไร (ลิงก์คู่มืออยู่ที่ด้านล่างของบทความ)
2.ผ่อนปรน
ในช่วงก่อนหน้านี้ (28 มกราคม) ทางกรมสรรพากรได้ออกมาชี้แจงถึงนโยบายการผ่อนปรนใน 3 ประเด็น ได้แก่
– ภาษีเงินได้: ทางกรมสรรพากรเสนอให้สามารถนำผล “ขาดทุน” มาหักลบกับผล “กำไร” ได้ในปีภาษีเดียวกัน ซึ่งจะเข้าเงื่อนไขนี้ได้เฉพาะ Exchange ไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น
– ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่าน Exchange นั้นไม่สามารถระบุว่าผู้ซื้อ-ผู้ขายเป็นใคร และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย
“จึงไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย”
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม: กรมสรรพากรจะเสนอพ.ร.ก.ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากตีความว่าสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ในรูปแบบ “บริการ” โดยเข้าเงื่อนไขเฉพาะ Exchange ไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น หากเป็น Exchange ต่างประเทศ จะต้องเสีย VAT (รอประกาศเป็นพ.ร.ก.)
3.มองอนาคต
กรมสรรพากรได้มีการสำรวจและปรึกษาหารือกับสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวกับข้อเสนอมากมายที่ประชาชนได้ส่งเข้ามา เช่น สามารถทำเป็นภาษีสุดท้าย (Final Tax) ได้หรือไม่ โดยข้อเสนอเหล่านี้ ทางกรมสรรพากรก็จะนำมาประเมินร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง
สรุปเรื่องของภาษีคริปโตฯ แบบสั้น ๆ 4 ข้อดังนี้
1.กำไรสามารถนำมาหักลบกับขาดทุนได้
2.กำไรหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งไม่จำเป็นต้องหัก เมื่อเราไม่รู้ว่าใครเป็นผู้จ่ายและผู้หักภาษี
3.การหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% นั้นไม่ใช่อัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งเราอาจจะเสียต่ำกว่าหรือสูงกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิที่มี ยิ่งมากยิ่งเสียภาษีมาก
4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรายได้จากการเทรดคริปโตฯ นั้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อย่างไรก็ตามสิทธิ์ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานี้จะต้องเป็นการทำธุรกรรมผ่าน Exchange ไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. “เท่านั้น”
และนี่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของแนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ ที่ชัดเจน โดยทุกคนสามารถเข้าไปอ่านแนวทางเพิ่มเติมจากคู่มือของทางกรมสรรพากรที่ได้ร่วมมือจัดทำกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้เลยที่ลิงก์ด้านล่างนี้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือภาษีคริปโตฯ สำหรับประชาชนทั่วไปได้ที่: https://www.rd.go.th/…/informa…/manual_crypto_310165.pdf
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
Website : https://techtoro.me/fb-web
LINE@ : https://techtoro.me/fb-line
Youtube : https://techtoro.me/fb-yt
IG : https://techtoro.me/fb-ig
Twitter : https://techtoro.me/fb-tw
TikTok : https://techtoro.me/fb-tt
Blockdit : https://techtoro.me/fb-bd
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Crypto #Tax #ภาษี #ภาษีคริปโตฯ #กรมสรรพากร