หยุดอ่านสักครู่! ถ้าไม่อยากให้การซื้อ “บ้าน” ที่ควรจะเป็นสถานที่อันอบอวลไปด้วยความสุข กลายเป็นภาระหนี้เกินตัวจนเกิดเป็นความเครียดสะสม วันนี้แอดมินรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “ซื้อบ้าน 1 หลัง ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง” มาให้เพื่อน ๆ ได้เช็กความพร้อมกัน
ค่าจองและค่าทำสัญญา
เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป ส่วนคอนโดมิเนียมจะเริ่มตั้งแต่หลักพัน จากนั้นในส่วนของค่าทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งราคาจะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับโครงการกำหนด
เงินดาวน์
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านต้องเตรียมเงินเผื่อวางเงินดาวน์ 10-20% สำหรับบ้านหลังที่ 2-3 ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป หลังมาตรการผ่อนผัน LTV ตามนโยบาย ธปท. สิ้นสุด เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา แต่ใครที่ซื้อบ้านหลังแรก และหลังที่สองราคาไม่เกิน 3 ล้าน จะสามารถกู้ได้เต็ม 100%
*ควรมีเงินดาวน์ 20% ของราคาบ้านที่จะซื้อ
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์
คิดเป็น 2% ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง ปกติแล้วเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน และแบ่งจ่ายฝ่ายละ 1% ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจมีบางกรณีที่ผู้ขายเสนอโปรโมชันจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนให้ทั้งหมด หรือกรณีอื่น ๆ ตามแต่ผู้ซื้อกับผู้ขายจะตกลงกัน
โดยตลอดปี 2566 นี้ คณะรัฐมนตรีมีมติขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 0.01% ต่อเนื่องจากปี 2564 เพื่อลดภาระให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยและกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยมีเงื่อนไข คือ ราคาซื้อขายบ้านและคอนโดนั้นจะต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท
ยกตัวอย่างกรณีซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการโอนฯ จากปกติคิด 2% เป็นเงิน 60,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% จะจ่ายเพียง 300 บาทเท่านั้น
ค่าประเมินราคา
หากเป็นการขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อซื้อคอนโด จะมีค่าประเมินราคาห้องชุดที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร ซึ่งเฉลี่ยจะอยู่ที่หลักพันบาท และหากยื่นกู้ธนาคารหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน ก็จะต้องเสียค่าประเมินหลายครั้งเช่นกัน
ค่าอากรแสตมป์
คิด 0.5% ของราคาซื้อขาย โดยราคานั้นต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน ซึ่งหากต่ำกว่าจะใช้ราคาประเมินที่ดินมาคำนวณแทน ปกติแล้วเป็นค่าใช้จ่ายของของฝ่ายผู้ขาย แต่ในกรณีที่ผู้ขายเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ ในทางกลับกัน ผู้ขายที่เสียค่าอากรแสตมป์แล้วก็จะไม่ต้องจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอีก
ค่าจดจำนอง
คิดเป็น 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้านโดยการกู้ ซึ่งหากซื้อเงินสดก็ไม่ต้องเสียค่าจดจำนองนั่นเอง สำหรับการซื้อบ้านใน ปี 2566 รัฐบาลมีมาตรการลดหย่อนให้เป็น 0.01% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายโอนกรรมสิทธิ์กับผู้ขายโครงการ
– ค่ากองทุนสำรองส่วนกลาง : เก็บประมาณ 500 บาทต่อตารางเมตร และเรียกเก็บแค่ครั้งเดียว ไว้เป็นเงินสำรองไว้ใช้ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของโครงการในระยะยาวหรือกรณีฉุกเฉิน
– ค่าส่วนกลางล่วงหน้า : ค่าใช้จ่ายที่ทางโครงการนำไปใช้ในการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในที่พักอาศัย ส่วนใหญ่ทางโครงการจะให้ผู้ซื้อจ่ายล่วงหน้าประมาณ 1-2 ปี โดยคิดตามขนาดพื้นที่พักอาศัย หลังจากนั้นก็จะเรียกเก็บเป็นรายปี
– ค่ามิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟ : ค่าติดตั้งและค่าประกันมิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟ จำนวนขึ้นอยู่กับประเภทของที่พักอาศัย รวมแล้วอยู่ที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น
ค่าใช้จ่ายขอสินเชื่อ
– ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ : ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บเป็นค่าดำเนินการกับผู้กู้ แต่ส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ หรือเก็บไม่เกิน 1% วงเงินกู้
– ค่าประเมินราคาหลักประกัน : ค่าสำรวจและประเมินราคาบ้านหรือที่ดิน เพื่อนำมาใช้ประกอบกับการพิจารณาขอสินเชื่อ อยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 บาท
– ค่าประกันสินเชื่อบ้าน : มักมาพร้อมสินเชื่อสำหรับคุ้มครองความปลอดภัยของบ้าน คิดเป็น 0.1% ของราคาซื้อ-ขาย เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุไม่คาดฝัน
ค่าประกันบ้าน
-ประกันอัคคีภัย
-ประกันภัยพิบัติ
ในส่วนของค่าประกันบ้านนั้นจะมีหลายเรทราคาและรายละเอียดจากแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทประกันภัย
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่สำคัญอื่น ๆ อีกด้วย เช่น
– ภาษีและดอกเบี้ยของเงินกู้
– ค่าบำรุงดูแลสวน
– ค่าซ่อมแซมบ้าน
– ค่าเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและของใช้ในบ้าน รวมถึงของตกแต่งด้วย
ข่าวดีปี 2566 ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย จะทำหนังสือถึงรัฐบาลขอให้ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ปัจจุบันเก็บในอัตรา 100% มอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทำให้รายได้ยังไม่กลับมาเหมือนเดิม
1. ขอเลื่อนจ่าย 1 ปี หรือเก็บลดในอัตราเป็นขั้นบันได เช่น ปี 2566 ลด 75% ปี 2567 ลด 50% และปี 2568 ลด 25% รอเศรษฐกิจฟื้นตัวถึงเก็บ 100%
2. ยกเว้นดอกเบี้ยและค่าเบี้ยปรับ 40% ให้กับธุรกิจที่ค้างชำระภาษี เป็นระยะเวลา 1 ปี
3. พิจารณาปรับโครงสร้างอัตราภาษีที่ดินฯ ให้เป็นอัตราเดียว ไม่ควรแยกเป็นหลายประเภทเหมือนปัจจุบัน มี 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย ที่ดินประเภทอื่นๆ เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า เนื่องจากราคามูลค่าทรัพย์สินของที่ดินแต่ละประเภท
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #House #Asset #RealEstate #บ้าน #ซื้อบ้าน #การลงทุน #อยากมีบ้าน #อสังหาริมทรัพย์ #ซื้อบ้าน2566 #ซื้อบ้านต้องใช้อะไรบ้าง #ซื้อบ้านทำยังไง #กู้ซื้อบ้าน #เตรียมตัวซื้อบ้าน #Investment