ในยุคปัจจุบันที่ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกต่างพากันพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังถูกซ้ำเติมด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้เงินในมือคุณมีค่าลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ การกอดเงินสดจึงอาจไม่ใช่คำตอบ แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ เพื่อไม่ให้เงินในกระเป๋าสูญเสียมูลค่าไปโดยเปล่าประโยชน์? วันนี้แอดมินรวบรวมข้อมูลของสินทรัพย์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการต่อสู้กับเงินเฟ้อ นั่นก็คือ “ทองคำ” และ “Bitcoin” แต่ละสินทรัพย์จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลยดีกว่า!
ความทนทาน (Durable)
ทองคำนั้นเป็นธาตุโลหะในอุดมคติ นั่นก็คือมันจะยังคงอยู่ตลอดไป ทำลายไม่ได้ ไม่กัดกร่อน ผุพัง หรือขึ้นสนิม เช่นหน้ากากทองคำของตุตันคามุน ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1,323 ก่อนคริสตกาล หรือราว ๆ 3300 ปีก่อน แต่ก็ยังมีสภาพคงเดิม และต่อให้ใช้ความร้อน หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างของทองคำ มันก็ยังคงเป็นทองคำก้อนเดิมอยู่ดี และทองคำเองก็ได้ฝังลึกเข้าไปในวัฒนธรรมของมนุษย์ทั่วทั้งโลก
ขณะที่ Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบไร้ตัวกลาง (Decentralized) บนระบบบล็อกเชน ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ หมายความว่ามันไม่สารถถูกทำลายได้ด้วยวิธีทางกายภาพ ส่วนการโจมตีระบบของ Bitcoin นั้นจำเป็นต้องใช้กำลังการขุด 51% ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาล และไม่คุ้มค่าที่จะทำ
การพกพาและเคลื่อนย้าย (Portable & Transfer)
ทองคำเป็นโลหะที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก จึงมีรายงานเกี่ยวกับการพบทองคำใต้ทะเลเป็นจำนวนมาก เนื่องมาจากการขนย้ายทองคำข้ามประเทศ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งที่เรียกว่า “สัญญาซื้อขายทองคำ” หรือชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า “ทองกระดาษ” ที่ช่วยให้เราไม่ต้องเก็บทองคำไว้กับตนเอง หรือขนย้ายไปมา
Bitcoin นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัล ไม่มีรูปร่างที่จับต้องได้ และนี่คือก็เป็นอีกหนึ่งข้อดีของ Bitcoin คือมันสามารถขนย้ายไปที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ ขอเพียงจำรหัส Seed Word 12 หรือ 24 ได้ก็พอ และ Bitcoin ก็ยังมีระบบเครือข่าย Lightning Network ที่ช่วยแก้ปัญหาในด้านความเร็วเมื่อทำการโอน Bitcoin ข้ามบัญชี
ความหายาก (Scarce)
ทองคำเป็นโลหะ ‘เอเลี่ยน’ หรือโลหะที่มาจากนอกโลก นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ทองคำจะก่อตัวเกิดขึ้นได้ภายใต้แรงดันมหาศาลเท่านั้น อย่างเช่นการระเบิดของดวงดาว หรือเกิดจากการชนกันของดาวนิวตรอน โดยมีทฤษฎีว่า ทองคำนั้นคืออุกกาบาตแร่ธาตุ ที่ตกลงมาสู่โลกในขณะที่ยังหลอมเหลวอยู่ และได้ตกลงไปยังแกนโลก ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งที่คล้ายกันนั่นก็คือ ทองคำได้อยู่กับโลกมาตั้งแต่จุดกำเนิด โดยได้เข้ารวมกับชั้นแมนเทิล (หินหนืด) ในขณะที่โลกกำลังก่อตัวจากการรวมตัวของมวลสาร (Planetesimal) แต่ไม่ว่าทองคำจะมาสู่โลกด้วยทฤษฎีใดก็ตาม เห็นได้ชัดว่าปริมาณของมันมีจำกัด
Bitcoin ถูกออกแบบให้มี Limit Supply อยู่ที่ 21 ล้าน BTC อีกทั้งยังออกแบบลดกำลังการขุดลง ‘ครึ่งหนึ่ง’ ในทุก ๆ 4 ปี ทำให้ Supply ของ Bitcoin ที่ผลิตได้นั้น ลดน้อยลงเรื่อย ๆ จุดนี้เป็นจุดเด่นของ Bitcoin ซึ่งนักลงทุนระดับโลกหลายท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่เคยมีสินทรัพย์ไหน ทำได้แบบนี้มาก่อน”
ประวัติศาสตร์การมีอยู่ (Established History)
ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามนุษย์นั้นหลงใหลในมานานกว่า 5,000 ปี ชิ้นส่วนของทองคำธรรมชาติก็ได้ถูกค้นพบในถ้ำยุคหินซึ่งมีอายุย้อนกลับไปถึง 40,000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนทองคำนั้นถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1848 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อีกทั้งทองคำยังผ่านวิกฤตสินเชื่อ Subprime หรือที่คนไทยคุ้นชินกับคำว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” และได้พิสูจน์ตนเองในฐานะ “ทรัพย์สินปลอดภัย”
Bitcoin ถูกประดิษฐ์โดยโปรแกรมเมอร์นิรนาม ซึ่งใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ในวันที่ 31 ตุลาคม 2008 ซาโตชิได้เผยแพร่ Bitcoin Whitepaper เป็นครั้งแรก ส่วนบล็อกแรกของ Bitcoin ถูกรันเมื่อปี 2009 นับได้ว่า Bitcoin เพิ่งเกิดมาได้เพียง 13 ปี ในส่วนนี้ยังคงห่างชั้นกับทองคำนัก
การบังคับใช้ของรัฐบาล (Censorship Resistance)
ทองคำถูกใช้เป็น Reserve หรือทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยประเทศที่เก็บทองคำไว้มากที่สุดก็คือ สหรัฐอเมริกา (8,133 ตัน) ส่วนประเทศไทยนั้นเก็บทองคำไว้ถึง 244 ตัน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2022) รัฐบาลหรือธนาคารกลางในแต่ละประเทศจึงไม่มีทางโจมตีทองคำ แต่ในปี 1933 ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา Franklin D. Roosevelt ได้ประกาศ Executive Order 6102 (Executive Order คือ คำสั่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ต้องผ่านการรับรองจากสภาคองเกรส) ซึ่งเป็นคำสั่งห้ามประชาชนสะสมทองคำ และบังคับให้ขายทองคำดังกล่าวแก่รัฐบาล
“Not yoy keys, Not your coins” เป็นคำยอดฮิตของเหล่า Bitcoiner ซึ่งมีความหมายถึงการเก็บสินทรัพย์ไว้กับตัวเอง อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปกับ Executive Order 6102 ที่พิสูจน์แล้วว่ารัฐบาลสามารถเข้ามาแทรกแซงการสะสมความมั่งคั่งของประชาชนได้ แต่ความ Decentralized ของ Bitcoin ทำให้หลายรัฐบาลมีความกังวล เพราะไม่มีใครสามารถควบคุมได้ และยังเป็นปรปักษ์กับเงิน Fiat ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะโดนรัฐบาล ‘แบน’ หรือ ‘เตะตัดขา’ อย่างไรก็ตาม Bitcoin ได้ถูกประกาศเป็นเงินที่ใช้ชำระได้ตามกฎหมายแล้ว ในประเทศเอลซัลวาดอร์
ผลตอบแทน (Return)
ผลตอบแทนของทองอาจไม่ได้หวือหวา เพราะทองคำนั้นมีความผันผวนต่ำ นักลงทุนเองก็มองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ใช้สะสมความมั่งคั่ง มากกว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อผลกำไร โดย 10 ปีที่ผ่านมา ทองคำให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนประมาณ 22-23%
Bitcoin มีผลตอบแทนเฉลี่ยราว ๆ 200% ต่อปี โดย 10 ปีที่ผ่านมาราคา Bitcoin ได้พุ่งขึ้นสูงกว่า 400,000% จาก 5 ดอลลาร์สหรัฐ สู่ประมาณ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน แต่ความเสี่ยงก็คือหากเป็นช่วงตลาดหมี ราคาของ Bitcoin อาจร่วงลงได้ถึง 80-90%
________________________________
ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์
กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻
FB : https://techtoro.me/web-fb
LINE@ : https://techtoro.me/web-line
Youtube : https://techtoro.me/web-yt
IG : https://techtoro.me/web-Ig
Twitter : https://techtoro.me/web-tw
Blockdit : https://techtoro.me/web-bd
Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok
Email : [email protected]
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #Gold #Bitcoin #BTC #Inflation #ทองคำ #บิตคอยน์ #เงินเฟ้อ