(อัปเดตใหม่จากแบงก์ชาติ) ‘บาทคอยน์’ ทางเลือกใหม่ของสกุลเงินดิจิทัล ออกโดยแบงก์ชาติ

ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 นี้ ประเทศไทยจะมีการทดลองใช้เงิน ‘เงินบาทดิจิทัล’ CBDC หรือ Central Bank Digital Currency ซึ่งพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั่นเอง ในขณะที่นักลงทุนหลายฝ่ายยังตั้งคำถามกับสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวว่าจะสามารถเปลี่ยนรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตเพื่อเข้าสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’ อย่างแท้จริงได้หรือไม่? วันนี้แอดมินจะพาไปรู้จักกับ ‘เงินบาทดิจิทัล’ มันคืออะไร? ต่างจาก PromptPay และ E-Money อย่างไร? ไปดูกันเลย! 

‘บาทคอยน์/เงินบาทดิจิทัล’ คืออะไร? 

เงินบาทดิจิทัลเป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลของรัฐ (CBDC/Central Bank Digital Currency) ซึ่งธนาคารกลางของแต่ละประเทศก็จะมีสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองและทำให้สกุลเงินดิจิทัลมีค่าเท่ากับธนบัตร หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘ธนบัตรดิจิทัล’

ลักษณะคล้ายกับ Stablecoin คือ มูลค่าจะถูกหนุนหลังด้วยเงินบาทในอัตราส่วน 1:1 สามารถใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ในชีวิตประจำวันเหมือนกับเงินบาทในรูปแบบธนบัตรทั่วไปได้ 

ต่างจาก PromptPay หรือ E-Money อย่างไร?

PromptPay คือ ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการโอนเงินที่เราฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ E-Money คือเงินอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งออกโดยตัวกลางที่ได้รับใบอนุญาต E-Money เช่น ธนาคารพาณิชย์ ทรูมันนี่ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเรานำเงินไปฝากที่ธนาคารพาณิชย์ หรือแลกเปลี่ยนเป็น E-Money ภาระจะตกอยู่ที่ตัวกลางเหล่านี้ ในการรับผิดชอบนำเงินบาทมาคืนให้เรา ในทางตรงกันข้ามกับ CBDC ซึ่งเปรียบเสมือนเงินสดหรือธนบัตร แต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ภาระหนี้จะไม่ได้อยู่ที่ตัวกลางใด ๆ แต่อยู่ที่ธนาคารกลางโดยตรง ซึ่งถือว่าไม่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้เลย

เกร็ด 5 ข้อควรรู้ บาทคอยน์! 

1. จะไม่มีการให้ดอกเบี้ย

2. คล้ายเงินบาทที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่อยู่ในรูปดิจิทัลที่ต้องมีสินทรัพย์มาหนุนหลังในการออก

3. จะมีการจำกัดปริมาณการถือหรือการถอน เพื่อป้องกันการถอนเงินปริมาณมากที่จะส่งผลต่อสภาพคล่องของระบบ

4. มีมูลค่าคงที่ 1 บาทเสมอ ซึ่งแตกต่างจาก Cryptocurrency ที่มีความผันผวนของราคาสูง

5. ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ Blockchain แต่จะถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยสูง

และสามารถเขียนเงื่อนไขต่อยอดบนเงินได้ (Programmable Money) เพื่อตอบโจทย์การเงินในอนาคต

ของฝากแอดมิน

“CBDC ไม่ใช่ Cryptocurrency” เนื่องจากคริปโตฯ นั้นออกแบบมาเพื่อใช้การกระจายศูนย์ในการบันทึกธุรกรรม จึงไม่มีอำนาจกลางในการออกหรือควบคุม อีกทั้งยังมีมูลค่าผันผวน ขณะที่ CBDC คือเงินทั่วไปในรูปแบบดิจิทัล โดยผู้ออกคือธนาคารกลาง และมูลค่าคงที่เท่ากับสกุลเงินนั้น ๆ

________________________________

ไม่พลาด! ทุกความรู้ที่จะให้คุณค่ามากกว่าสินทรัพย์

กดติดตาม Techtoro ได้ที่ 👉🏻

FB : https://techtoro.me/web-fb

LINE@ : https://techtoro.me/web-line

Youtube : https://techtoro.me/web-yt

IG : https://techtoro.me/web-Ig

Twitter : https://techtoro.me/web-tw

Blockdit : https://techtoro.me/web-bd

Tiktok : https://techtoro.me/web-tiktok 

Email : [email protected]

#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #CBDC #บาทคอยน์ #บาทดิจิทัล #ธนาคารแห่งประเทศไทย #ธปท #Crypto #Cryptocurrency